ห่วงใย...ใส่ใจ...เพื่อนเบาหวาน
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2553 เวลา 8.00-13.00 น. นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าฯ กทม. ให้เกียรติมาเป็นประธาน โดยมี นพ.พิชญา นาควัชระ ผู้อำนวยโรงพยาบาลกลาง และคณะผู้บริหารให้การตอนรับ พร้อมร่วมเปิดงานชาวค่ายเบาหวานให้กับประชาชน ณ ห้องประชุมเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ ชั้น 20 อาคารอนุสรณ์ 100 ปี จัดโดยกลุ่มงานอายุรกรรมร่วมกับฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลกลาง
กำหนดการ
08.00-08.30 น. ลงทะเบียน
08.45-12.00 น. ห่วงใย...ใส่ใจ...เพื่อนเบาหวาน
ขยับกายสบายชีวี
เสริมพลังใจ ห่างไกลเบาหวาน
"กินอย่างไรมีสุข"
"รู้จักยาเบาหวาน"
"ดูแลเท้าแต่แรกไม่ต้องแยกกัน"
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
**มีอาหารว่างระหว่างร่วมกิจกรรม**
เรื่องเล่าจากค่ายเบาหวาน “ วันวานยังหวานอยู่ ”
เช้าตรู่ของวันที่ 15 กันยายน ท้องฟ้ามืดครึ้ม ฝนทำท่าจะตกอากาศก็ร้อนอบอ้าว
ทำให้การจราจรบนท้องถนนใจกลางเมืองย่านคลองถม ที่มีตึกของโรงพยาบาลกลางตั้งตระหง่านอยู่
รอบด้านรายล้อมไปด้วยแหล่งการค้า รถยนต์มากมายหลายชนิด ขับผ่านไปได้อย่างช้าๆ บางคันหยุดนิ่งบงบอกถึงสภาพการจราจรติดขัด เหมือนเป็นอัมพาต ซึ่งเป็นอุปสรรคของการเดินทางสำหรับคนที่อยู่เมืองหลวง ทำให้เกิดปัญหาที่แก้ไม่ตกก็คือ ฝนตกรถติดมาทำงานสาย หรือบางครั้งถ้าไม่ใช่ธุระจำเป็นก็ไม่อยากเดินทางออกมาพบกับชะตาชีวิตที่น่าเศร้า ปัญหาเหล่านี้ทำให้ในใจของคณะกรรมการ
จัดงานค่ายเบาหวานกังวนใจ กลัวว่าผู้ที่ลงทะเบียนเพื่อเข้าค่ายเบาหวานจะมาไม่ทันเข้าค่าย หรือเปลี่ยนใจไม่มาเข้าค่ายตามที่นัดหมาย
ภายในห้องประชุมเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ เต็มไปด้วยเก้าอี้ที่ว่างเปล่าปราศจากผู้ที่จะมาร่วมเข้าค่ายเบาหวาน นอกจากคณะกรรมการจัดงานค่ายเบาหวานที่แต่งกายสบายๆด้วยเสื้อยืดสีม่วงปกขาว มีรูปช้างสี่งาที่หน้าอกซ้ายซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโรงพยาบาลกลาง กำลังทำหน้าที่ของตนเองตามที่ได้รับมอบหมาย บ้างก็จัดเตรียมสถานที่ บ้างก็เตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ในการทำกิจกรรม บ้างก็เตรียมต้อนรับทีมผู้บริหารที่จะมาเปิดงาน แต่คณะกรรมการอีกด้านที่ดูเหมือนไม่มีงานทำก็คือคณะกรรมการลงทะเบียนผู้เข้าค่ายเบาหวาน ได้แต่นั่งมองไปทางประตูทางเข้า เฝ้าแต่รอ และลุ้นอย่างเต็มที่ ให้มีแขกผู้มีเกียรติสักท่านเดินมาลงทะเบียน พอเวลาผ่านไป ประมาณ 8 โมงกว่าๆ เริ่มมีผู้เข้าค่ายเดินมาลงทะเบียนทีละคน สองคน ทำให้พวกเราใจชื้นขึ้น อย่างน้อยๆ วันนี้ก็มีผู้ร่วมเข้าค่ายเบาหวานกับเราแล้ว พอเวลาผ่านไปสมาชิกก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆอย่างไม่น่าเชื่อ รวบรวมได้ 41 ท่าน จากยอดตอบรับทั้งหมด47 ท่าน คณะกรรมการจัดงานยิ้มได้ ไม่ต้องกลัวหน้าแตก เพราะงานนี้เป็นการจัดงานค่ายเบาหวานครั้งที่ 2 อีกทั้งยังมีผู้บริหารระดับรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครฝ่ายการแพทย์มาเปิดงาน
“ เบาหวานเป็นเรื่องสำคัญ คนที่เป็นเบาหวานมานาน เส้นเลือดจะเหมือนท่อน้ำประปาที่สกปรก มีคราบสนิมเกาะ เราจะสนใจแต่ระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเดียวไม่ได้ ในยุคนี้มันต้องรู้ไปถึงระดับน้ำตาลในเม็ดเลือดแดงแล้ว เหมือนลูกตาลในน้ำเชื่อม ระดับน้ำตาลในน้ำเชื่อมคงหวานไม่เท่าระดับน้ำตาลในจาวตาลเชื่อมที่น้ำตาลเข้มข้นจนตกผลึกเป็นเกล็ดน้ำตาลสีขาว “ นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่ง
ในคำกล่าวเปิดงานของท่านรองฯ ผู้เข้าค่ายฟังแล้วต้องแอบกลืนน้ำลายเพราะอยากกินจาวตาลเชื่อม แต่ก็กลัวน้ำตาลจะตกผลึกในเม็ดเลือดแดงทำให้ Hb A1C สูง ถ้าไม่ยับยั้งใจ กินตามใจ ไม่หยุดยั้ง เส้นเลือดจะสกปรกและตีบตัน ชีวิตอาจจะสั้นหรือเป็นอัมพาต คำกล่าวของท่านมีความหมายลึกซึ้งจริงๆ
เมื่อเริ่มแบ่งสมาชิกเป็นกลุ่มๆเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ณ.มุมหนึ่งของห้องประชุม ในขณะที่คุณรุ่งนักกายภาพบำบัดคนสวยกำลังอธิบายถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายอยู่นั้น ก็สังเกตเห็น
คุณสุกัญญาสมาชิกคนหนึ่งในกลุ่มนั่งยิ้มน้อยยิ้มใหญ่อยู่ คล้ายๆอยากจะบอกอยากจะเล่าอะไรสักอย่าง
เมื่อคุณรุ่งเปิดโอกาสเท่านั้น คุณสุกัญญารีบฉวยโอกาสทันที โดยลุกขึ้นเล่าถึงวิธีออกกำลังกายมือ
การบริหารนิ้วมือเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดนิ้ว Lock พร้อมทั้งทำท่าทางประกอบ เพื่อนๆ ในกลุ่มสนใจ
เป็นอย่างมากบางคนก็ทำตามอย่างสนุกสนาน เรียกว่าเรทติ้งพุ่งกระฉูดอย่างนี้ต้องยกนิ้วให้ซะแล้ว
กลุ่มที่อยู่ข้างเคียงก็ไม่น้อยหน้า มีคุณเจอรี่ เภสัชกรใจดีคอยดูแล สมาชิกในกลุ่มพูดคุยกันอย่างสนุกสนานมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการใช้ยาเบาหวานอย่างน่าสนใจ
“ ตอนนี้ผมฉีดยา Mixtrad 70/30 ฉีดอยู่ 40 ยูนิตจะปรับลดยาเหลือ 30 ยูนิต ได้มั้ย ? “
เป็นคำถามหนึ่งจากสมาชิกในกลุ่ม
“ ก็ต้องดูว่าคุณลุงควบคุมอาหารได้หรือไม่ และระดับน้ำตาลในเลือดของคุณลุงเป็นเท่าไร “
คุณลุงหัวเราะแล้วบอกว่า ต้องไปงานเลี้ยงบ่อย กินอาหารนอกบ้านเป็นประจำ ควบคุมอาหารไม่ได้
คงจะลดยาลำบาก สงสัยต้องไปซื้อเครื่องตรวจระดับน้ำตาลมาเจาะดูเองจะดีกว่า คุณลุงสงคราม
สมาชิกอีกคนในกลุ่มก็สนับสนุน พร้อมให้ข้อเสนอแนะว่า ควรใช้ยาฉีดอินซูลินที่เป็นแบบปากกา
เพราะพกพาสะดวก ไม่ต้องแช่เย็น ฉีดก็ง่าย ว่าแล้วก็สอนวิธีการฉีดยาอินซูลินโดยใช้ปากกาแถมให้อีก คราวหน้าจะขอเชิญคุณลุงมาเป็นวิทยากร น่านับถือจริงๆ
ถัดออกมาอีกนิดเกือบจะชิดด้านหลังห้อง เป็นกลุ่มดูแลเท้าสำหรับคนเป็นเบาหวาน ต้นาตื่ีกนิดเกือบจะชิดด้านหลังห้อง เป็นกลุ่มดูแลเท้าสำหรับคนเป็นเบาหวานสมาชิกในกลุ่สมาชิกในกลุ่มมีท่าทางตื่นเต้น ดูจะสนใจเป็นพิเศษ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะคุณแข พยาบาลคนสวยเสียงหวาน
หรือเปล่า ดูคุณแขต้องตอบคำถามไม่ได้หยุด ถึงจะมีคนช่วยก็ยังไม่ถูกใจคุณแข
“ แช่เท้าด้วยน้ำร้อนดีไหม มีคนบอกว่าเลือดจะไหลเวียนดี “ คำถามหนึ่งลอยมา
“ ไม่ได้หรอก อันตราย เดี๋ยวเป็นแผลจะลำบาก ไปสปาปลาดีกว่า “ อีกเสียงหนึ่งก็ตอบไป
“ สรุปแล้วควรจะทำอย่าไร ดีเนี่ยะ “ อีกคนก็ยังสงสัย ทำให้คุณแขอดไม่ได้ต้องอธิบาย
“ การไปสปาปลาเป็นเหมือนการนวดเท้า ทำให้ผ่อนคลายได้ แต่ ไม่มีผลต่อการดูแลเท้าในคนเป็นเบาหวาน ฉะนั้นการดูแลเท้าที่ถูกต้องคือการล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำธรรมดา ซับด้วยผ้านุ่มๆให้แห้งและทาโลชั่น ที่สำคัญที่สุดควรจะทำทุกวัน นะคะ “
กริ๊งๆ กริ๊ง ๆเสียงกระดิ่งหมดเวลาดังขึ้น เราได้ยินเสียงพูดเบาๆลอยมา “ แหม ! เสียดายจัง “
ก่อนที่งานเลี้ยงจะเลิกรา ผู้เข้าค่ายท่านหนึ่งเดินมาหาเราด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม บอกว่าทำได้ดีมาก พอใจสุดๆ อยากให้จัดค่ายเบาหวานอีก จัดบ่อยๆ ยิ่งดีและถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ต้องแจกเมนูอาหาร
เบาหวานที่ควรรับประทานในแต่ละมื้อในแต่ละวัน มีเมนูหลายแบบให้เลือกอยากให้แนะนำวิธีอ่านค่าระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าซื้อเครื่องเจาะน้ำตาลไปเจาะเองจะได้รู้ สงสัยคงติดใจจาวตาลเชื่อมของท่านรองผู้ว่าฯ คราวหน้าฟ้าใหม่คงต้องเชิญมาอีกสักครั้งพร้อมเมนูเด็ด ลูกตาลอ่อน( ลูกตาลสด)แทน
จาวตาลเชื่อม เพื่อป้องกันน้ำตาลตกผลึกในเม็ดเลือดแดง นะจ๊ะจะบอกให้
เท่านั้นยังไม่พอผู้เข้าค่ายอีกท่านเดินมาสมทบแล้วบอกว่าเข้าใจทุกอย่างแต่ขาดกำลังใจอยากอยู่ใกล้ๆกับเพื่อน อยู่ในค่ายเก็บตัวด้วยกันสัก 5-6 วันน่าจะดี จะได้เชี่ยวชาญวิธีควบคุมน้ำตาลในเลือด
การจัดงานค่ายเบาหวาน ดำเนินไปและสำเร็จลงอย่างสวยงาม ได้รับความพึงพอใจถึง 90.2%
สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ 87.8% คณะกรรมการจัดงานหน้ายิ้มแย้ม อารมณ์ดีเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะมองไปที่จุดใด ก็จะได้เห็นรอยยิ้ม เพราะได้รับสิ่งประทับใจจากผู้เข้าค่ายกันไปคนละเล็กคนละน้อย เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าสู่กันฟัง เกิดพลังที่จะช่วยผู้ป่วยเบาหวานให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขต่อไป ขออนุญาตเล่าความประทับใจของพี่เจี๊ยบ
ß ต้นไม้แห่งชีวิต >>> ต้นหูกระจงของคุณลุง ß
พี่เจี๊ยบเล่าให้ฟังด้วยความประทับใจว่า ในขณะที่ทำกลุ่มกิจกรรมให้สมาชิกวาดรูปต้นไม้
เพื่อหาเป้าหมายในชีวิต พี่เจี๊ยบเห็นคุณลุงท่านหนึ่งวาดรูปต้นหูกระจงได้สวยงามอย่างไม่คาดคิดว่า
คุณลุงจะวาดได้จึงได้ถามคุณลุงว่า “ คุณลุงคิดถึงอะไร คะ ที่วาดต้นไม้ต้นนี้ “
“ ชีวิตลุงก็เหมือนต้นหูกระจงต้นนี้ ถ้าได้รับการดูแลอย่างดี รดน้ำพรวนดิน ต้นหูกระจงก็จะเจริญเติบโต แต่บางครั้งต้นหูกระจงก็ต้องการการใส่ปุ๋ยเพื่อความเจริญงอกงามยิ่งขึ้น ก็เหมือนชีวิตลุง
ถึงแม้ว่าจะสนใจดูแลสุขภาพตนเองดีเพียงใดก็ได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามยังต้องการปุ๋ยหรือคนมาดูแลช่วยเหลือ ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพทั้งมาเป็นกำลังใจให้ เช่นเดียวกัน ถ้าได้ปุ๋ยเหล่านี้ ชีวิตลุงก็คงเจริญงอกงามเหมือนต้นกระจงต้นนี้ ”
พี่เจี๊ยบได้ฟังคารมของคุณลุงเท่านั้นโดนใจสุดสุด พี่เจี๊ยบแอบกระซิบว่าท่าทางคุณลุงดูธรรมด๊า
ธรรมดา แต่วาจาโวหารเป็นเลิศ พี่เจี๊ยบให้ข้อคิดว่า คนทุกคนมีศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวกันทั้งนั้น
ทำอย่างไรหนอถึงจะดึงศักยภาพเหล่านี้ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
เป็นเรื่องที่น่าคิดและท้าทายมาก
ขอฝากสักนิด ให้คิดถึง :
ไม่ลอง ก็ไม่รู้
ทดลองดู ไม่เสียหาย
ปรับเปลี่ยน ไม่เว้นวาย
เพื่อจุดหมาย ที่ยิ่งดี
กาญจนา ใจสุภาพ