Get Adobe Flash player

ค้นหาข้อมูล

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

จำนวนผู้เข้าชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้63
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้176
mod_vvisit_counterเดือนนี้1367
mod_vvisit_counterทังหมด3975925

กำลังเข้าชม 2
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา

บัตรดรรชนีวารสาร

บัตรดรรชนีวารสาร

ดรรชนีวารสาร (Periodical Index) เป็นเครื่องมือสำหรับค้นหาบทความในวารสารต่าง ๆ ที่เราต้องการค้นได้โดยสะดวก รวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลาไปเปิดหาบทความที่เราต้องการจากตัววารสารจริง ๆ แม้ไม่ทราบชื่อ ผู้แต่ง หรือชื่อบทความก็สามารถค้นหาบทความที่ต้องการได้ ด้วยการค้นจาก หัวเรื่องที่เราต้องการ เพราะในดรรชนีวารสารจะบอกให้ทราบถึงหัวเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ เดือน ปี และเลขหน้าที่ตีพิมพ์บทความนั้น ๆ ลักษณะบัตรดรรชนีวารสาร เป็นบัตรแข็งขนาด 3 x 5 นิ้ว

ประเภทของบัตรดรรชนีวารสาร

ห้องสมุดจัดทำบัตรดรรชนีวารสารไว้ 2 ประเภท คือ

1. บัตรดรรชนีผู้แต่ง ( Author Index) คือบัตรที่มีชื่อผู้เขียนบทความอยู่ในบรรทัดแรกของบัตรดรรชนีวารสาร

2. บัตรดรรชนีหัวเรื่อง (Subject Index) คือบัตรที่มีหัวเรื่องอยู่ในบรรทัดแรกของบัตรดรรชนีวารสาร และขีดเส้นใต้กำกับหัวเรื่อง

 

การเรียงบัตรดรรชนีวารสาร

ห้องสมุดจัดเรียงบัตรดรรชนีวารสารเข้าไว้ในตู้บัตร โดยแยกบัตรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ออกจากกัน โดยมีวิธีจัดเรียงดังนี้

1. เรียงบัตรดรรชนีวารสาร โดยแยกตามประเภทของบัตร ได้แก่ บัตรผู้แต่ง และบัตรหัวเรื่อง

2. บัตรดรรชนีวารสารทุกประเภท จัดเรียงตามแบบพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (รายละเอียดอยู่ในวิธีการเรียงบัตรรายการหนังสือ ในหน้า 47 49 )

วิธีใช้บัตรดรรชนีวารสาร

1. ค้นหาที่บัตรผู้แต่ง หากทราบชื่อผู้เขียนบทความ

2. ค้นหาที่บัตรหัวเรื่อง ถ้าทราบว่าบทความมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใด เปิดดูที่ตู้บัตรดรรชนี

หัวเรื่อง

ภายใต้หัวเรื่องที่ต้องการ โดยหาจากคำหรือกลุ่มคำนั้น ๆ

3. เมื่อพบบัตรที่ต้องการ ให้จดรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการค้นคว้าหาวารสารฉบับที่ต้องการ โดยจดชื่อวารสาร ฉบับที่ วัน เดือน ปี และหน้าที่ปรากฏบทความ

4. หาตัวเล่มวารสารที่ต้องการ อาจตรวจสอบดูว่าเป็นวารสารรวมเล่ม หรือวารสารที่ยังไม่ได้รวมเล่ม

5. กรณีวารสารฉบับที่ต้องการยังไม่ได้รวมเล่ม หรือเตรียมส่งรวมเล่ม ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อหยิบวารสารฉบับที่ต้องการให้ หรือวารสารที่รวมเล่มแล้วหาที่ชั้นไม่พบ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบว่ามีผู้ยืมไปหรือไม่ และกำหนดคืนเมื่อใด

บทสรุป

ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมวัสดุ เพื่อการศึกษาค้นคว้าทุกชนิด โดยทั่วไปห้องสมุดมีวัตถุประสงค์หลัก 5 ประการ คือ เพื่อการศึกษา เพื่อให้ความรู้ และข่าวสาร เพื่อความจรรโลงใจ เพื่อการค้นคว้าวิจัยและนันทนาการ

ห้องสมุดมีความสำคัญคือ เป็นแหล่งรวบรวมวิทยาการต่าง ๆ ที่บุคคลสามารถเลือกอ่านและค้นคว้าได้โดยอิสระ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้มีความรู้ทันสมัย ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เป็นการฝึกนิสัยรักการอ่าน การค้นคว้า และรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห้องสมุดเป็นสมบัติของส่วนรวม จึงทำให้ผู้ใช้รู้จักรับผิดชอบที่จะใช้สิทธิและเข้าใจรับรู้หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตัวตามกฎ ระเบียบที่ห้องสมุดมีเอาไว้ เพื่อให้ทุกคนได้ใช้สื่อความรู้ต่าง ๆ ร่วมกันได้อย่างมีคุณภาพ และบังเกิดประโยชน์สูงสุด

ห้องสมุดจะดำเนินการอยู่ได้ต้องประกอบด้วย อาคารสถานที่ งบประมาณ พัสดุ ครุภัณฑ์ห้องสมุด มีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำและจำนวนเพียงพอ มีวัสดุ เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยอยู่จำนวนมากพอสมควรขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ใช้และการดำเนินงาน

ห้องสมุดที่ดี จะต้องจัดบริการและกิจกรรมที่ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า เพื่ออำนวยความสะดวกและให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ เช่นบริการยืม คืนหนังสือ บริการตอบคำถาม บริการสืบค้นข้อมูล บริการโสตทัศนวัสดุ หรือบริการพิเศษอื่น ๆ ที่ห้องสมุดจัดทำขึ้น

ห้องสมุด มีการจัดหมวดหมู่หนังสือและวัสดุอื่น ๆ เอาไว้อย่างมีระบบ และเป็นระเบียบ เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาและการจัดเก็บเข้าที่ การจัดหมู่หนังสือนั้นจะจัดหนังสือที่มีเนื้อเรื่องเหมือนกันหรือลักษณะการประพันธ์แบบเดียวกันเอาไว้ด้วยกัน และใช้สัญลักษณ์แทนประเภทของหนังสือ

ห้องสมุดที่ดี จะปรากฏลักษณะเด่นให้มองเห็นชัดคือ มีวัสดุการศึกษาประเภทต่าง ๆ ไว้บริการตลอดเวลา ให้บริการอย่างกว้างขวางทุกประเภท มีผู้บริการที่มีความรู้ทางบรรณารักษศาสตร์ประจำอยู่ จัดบริการแบบชั้นเปิดให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในการเลือกใช้บริการวัสดุของห้องสมุดแต่ละประเภท มีเครื่องมือในการช่วยค้นหาหนังสือและวัสดุอื่นๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว บัตรรายการหนังสือครบชุดของหนังสือแต่ละเล่ม โดยทั่วไปแล้วมี 4 บัตร ได้แก่ บัตรผู้แต่ง บัตรชื่อเรื่อง บัตรหัวเรื่อง และบัตรแจ้งหมู่หรือบัตรทะเบียน

ห้องสมุดเป็นสาธารณสมบัติส่วนรวมที่ทุกคนต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เพื่อให้สิทธิผู้ใช้รู้จักสิทธิของตัวเองที่พึงมีพึงได้ จึงต้องถือปฏิบัติให้อยู่ในขอบเขตของระเบียบ ข้อบังคับที่ห้องสมุดได้กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการและส่วนรวม ผู้ใช้บริการที่ดีนั้น นอกจากจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของห้องสมุดแล้ว ยังจะต้องมีมารยาทที่ดีในการใช้ห้องสมุด ร่วมกับผู้อื่น

 

***********************************************

 

ป้ายโฆษณา

bma-health map

ป้ายโฆษณา

วิธีการเดินทาง

ป้ายโฆษณา

วารสารโรงพยาบาล

ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ข่าวดี!!!!>>>ทุกท่านสามารถติดต่อ-นัดล่วงหน้า และทำบัตรใหม่ ได้ที่ศูนย์ประกันสุขภาพ<<< Mail : klangprofit@gmail.com

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา