Get Adobe Flash player

ค้นหาข้อมูล

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

จำนวนผู้เข้าชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้113
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้506
mod_vvisit_counterเดือนนี้713
mod_vvisit_counterทังหมด3967496

กำลังเข้าชม 2
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
**ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลางภูมิใจเสนอเทคโนโลยี ใหม่ล่าสุดในการทำ LASIK เพื่อการมองเห็นที่ดีที่สุด"Femtosecond Laser(FS200)และSCHWIND AMARIS 750S EXCIMER LASER" เครื่องแรกในประเทศไทย ติดตั้งแล้วที่ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลาง สนใจติดต่อศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลาง โทร 0-2220-8000 ต่อ 11641 – 11642

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา

การออกกำลังกายและข้อควรปฏิบัติ ในผู้ป่วยผู้หลังผ่าตัดเต้านม

การออกกำลังกายและข้อควรปฏิบัติ ในผู้ป่วยผู้หลังผ่าตัดเต้านม
(Modified radical mastectomy)
 
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม

สาแหตุที่แท้จริงของการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ทราบเพียงปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ดังนี้
· อายุ  โอกาสเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะอายุมากกว่า 50 ปี
· พันธุกรรม หรือประวัติครอบครัว
· มีประจำเดือนครั้งแรกเร็ว  คือ มีครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
· หมดประจำเดือนช้ากว่าปกติ คือ หมดเมื่ออายุมากกว่า 55 ปี
· ไม่มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี
· ขาดการออกกำลังกาย
· ภาวะอ้วน
· การดื่มแอลกอฮอล์
· การใช้ยาคุมกำเนิด มากกว่า 10 ปี
· เคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน
· มีพยาธิสภาพของเต้านมที่มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งสูง 
การรักษา
         
¨ การทำเคมี
          ¨ การฉายรังสี
         
¨ การผ่าตัด
ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

การป้องกันและลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม
v ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร โดยเลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ ผักและผลไม้
v ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน
v งดเว้นการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
v ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 การออกกำลังหลังผ่าตัดเต้านม
1. หายใจลึก ๆ  3 ครั้ง
       
กำ - แบมือ 5-10 ครั้ง
       
งอ - เหยียดศอก 5-10 ครั้ง 
2. ยกไหล่ ขึ้น-ลง   
 1.jpg
 

 

 

 


3.   ห่อไหล่มาด้านหน้า-แบะไหล่ไปด้านหลัง

2.png

 

 

 

 

 

 

 4. หมุนหัวไหล่เป็นวงกลม 
     (ทั้งในท่าเหยียดแขนและงอศอกท่าใดท่าหนึ่งที่สามารถทำได้)

3.png 

 

 

 

 

 


5.   ยกแขนไปด้านหน้า-เหยียดแขนไปด้านหลัง

4.png

 

 

 

 

 

 

 

 
6. ยืนหันหน้าเข้าหาผนัง วางฝ่ามือบนผนัง ค่อยๆ “ไต่ผนัง” จนรู้สึกว่าตึงเล็กน้อย
    
แล้วกลับสู่ท่าตั้งต้น
5.png

 

 

 

 

 

 

 

** ท่าที่ 7 และ 8    เริ่มปฏิบัติในสัปดาห์ที่ 2 หลังผ่าตัด **
** หรือภายใต้คำแนะนำของนักกายภาพบำบัด **
7.   กาง-หุบแขนโดยประสานมือไว้ด้านหลังศีรษะ

6.png 

 

 

 

 

 

 

 

 

  8.  นั่งตัวตรง ประสานมือไว้เหนือศีรษะ เอียงตัวไปข้างซ้าย และขวาสลับกัน ช้า ๆ

7.png

 

 

 

 

 

 

 
ทำท่าละ 5-10 ครั้ง วันละ 3-4 รอบ
***ระวัง...อย่าให้เกิดอาการปวดมากขึ้น ***

ปฏิบัติข้อที่ 1-8 อย่างต่อเนื่องและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยการยกถุงทราย หรือ   ตุ้มน้ำหนัก
โดยเริ่มจากน้ำหนักเบาก่อน ประมาณ 0.25-0.5 กิโลกรัม ซึ่งเทียบได้กับปริมาณน้ำในขวดขนาด 500 มิลลิลิตร
เพียงครึ่งขวดถึงเต็มขวด และเพิ่มน้ำหนักได้ไม่เกิน 2 กิโลกรัม โดยไม่มีอาการเจ็บปวดมากขึ้น    
แนวการปฏิบัติหรือระยะเวลาในผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันไป หากมีข้อสงสัยควรปรึกษา
และสอบถามรายละเอียดจากนักกายภาพบำบัดผู้ดูแล

  ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าตัดเต้านม
· หลีกเลี่ยงการเจาะเลือดและวัดความดันโลหิตที่แขนข้างเดียวกับที่รับการผ่าตัดเต้านม
· ดูแลผิวหนังให้ชุ่มชื้นและสะอาดอยู่เสมอ
· เมื่อต้องออกนอกบ้านหรืออยู่กลางแจ้ง ควรสวมใส่เสื้อแขนยาว เพื่อป้องกันการขีดข่วนหรือการเกิดบาดแผล
   แมลงสัตว์กัดต่อย และแสงแดดที่ทำให้เกิดผิวไหม้จากแสงแดดได้
· ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้า ยกทรง และเครื่องประดับที่รัดแน่นเกินไป
· ควรใช้เครื่องโกนไฟฟ้าโกนขนรักแร้ควรแทนการใช้มีดโกน
· สวมใส่ถุงมือขณะล้างจาน ทำกับข้าว และเย็บผ้า
· หลีกเลี่ยงการถือของหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม หรือการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ของแขนข้างเดียวกับที่ผ่าตัด
   เช่น การถูบ้าน หรือซักผ้าในปริมาณมากๆ เป็นต้น
· ควรสังเกตลักษณะผิวหนัง ว่า มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิว หรือมีอาการปวดหรือบวมมากขึ้นหรือไม่
· ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ (6 แก้ว / วัน)
· หลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
· หากต้องใช้กระเป๋าถือหรือสะพาย ควรให้กระเป๋ามีน้ำหนักเบา โดยการใส่สิ่งของในปริมาณน้อย และถือหรือสะพายด้วยแขนข้าง
   ที่ไม่ได้รับการผ่าตัด
· หากต้องนั่งเป็นเวลานานควรยกแขนข้างเดียวกับที่รับการผ่าตัดให้สูงกว่าระดับหัวใจร่วมกับมีการเคลื่อนไหวของแขนข้างนั้น
· ไม่ควรใช้น้ำหนักมากกว่า 2 กิโลกรัม ในการออกกำลัง ให้เริ่มยกจากน้ำหนักน้อยๆ หากมีอาการเจ็บปวดมากขึ้นให้หยุดทันที
· ไม่ควรตัดเล็บสั้นมากเกินไป
· หลีกเลี่ยงการอบซาวน่า
· ขณะเดินทางด้วยเครื่องบิน ควรใส่ที่รัดแขน

ข้อห้ามในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
¨ มีอาการอ่อนล้า และกล้ามเนื้ออ่อนแรงผิดปกติ
¨ ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ
¨ ปวดขาและเป็นตะคริว
¨ มีอาการเจ็บหน้าอก
¨ มีอาการคลื่นไส้ขณะออกกำลังกาย
¨ มีอาเจียนหรือท้องเสีย ในช่วง 24-36 ชั่วโมง  ก่อนออกกำลังกาย
¨ มีอาการสับสน มึนงง
¨ มองภาพไม่ชัด เวียนศีรษะ หน้าซีด เป็นลม
¨ เมื่อเพิ่มความหนักของการออกกำลังกายแล้วมีความดันโลหิตลดลง และหัวใจเต้นช้าลง
¨ หลังการทำเคมีบำบัด 24 ชั่วโมง  ควรงดออกกำลังกาย

 งานกายภาพบำบัด  กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู  โรงพยาบาลกลาง
514 ถ.หลวง เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพฯ 10100
โทร. 0-2222-2424 ต่อ 10800, 10801

bma-health map

ป้ายโฆษณา

วารสารโรงพยาบาล

ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ข่าวดี!!!!>>>ทุกท่านสามารถติดต่อ-นัดล่วงหน้า และทำบัตรใหม่ ได้ที่ศูนย์ประกันสุขภาพ<<< Mail : klangprofit@gmail.com

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา