Get Adobe Flash player

ค้นหาข้อมูล

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

จำนวนผู้เข้าชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้65
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้178
mod_vvisit_counterเดือนนี้1369
mod_vvisit_counterทังหมด3975927

กำลังเข้าชม 2
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา

"หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" คืออะไร?

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หมายถึง บัตรประกันสุขภาพที่รัฐบาลออกให้กับผู้มีสัญชาติไทยที่ลงทะเบียนใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อเป็นหลักฐานในการเข้ารับบริการสาธารณสุขจากโรงพยาบาล สถานีอนามัย และสถานพยาบาลต่างๆ ในยามจำเป็น  โดยประชาชนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด  จึงจะสามารถใช้สิทธินี้ได้

ใครมีสิทธิ์ใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าบ้าง?

ผู้มีสิทธิใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือ ผู้มีสัญชาติไทยทุกคนที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ยังไม่มีสิทธิใด ๆ จากหลักประกันอื่นที่รัฐจัดให้

ยกเว้นบุคคลเหล่านี้

1. ผู้ที่มีสิทธิตามกฎหมายประกันสังคม

2. ผู้ที่มีสิทธิอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น ราชการ พนักงานรรัฐวิสาหกิจและครอบครัว

ทำบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ที่ไหน?

1. ผู้ที่อยู่ต่างจังหวัด ขอทำบัตรได้ที่ สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน

2. ผู้ที่อยู่กรุงเทพฯ ขอทำบัตรได้ที่สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานครทุกเขต

(เปิดทำการตามเวลาราชการ หยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

ทำบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าใช้หลักฐานอะไรบ้าง?

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้สำเนาใบสูติบัตร)

2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอทำบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีชื่ออยู่

3. กรณีพักอาศัยอยู่ไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน ให้นำสำเนาทะเบียนบ้านหลังที่ที่ไปพักอาศัย ซึ่งมีลายมือชื่อเจ้าของบ้านหรือหนังสือรับรองของผู้นำชุมชน รับรองว่าได้พักอาศัยอยู่จริง

สำหรับผู้ป่วยที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเมื่อมาใช้บริการโรงพยาบาลกลาง

หลักฐานที่ต้องนำมาทุกครั้ง

1. บัตรประจำตัวประชาชน (ต้องนำมาทุกครั้ง)

2. สูติบัตร / ทะเบียนบ้าน (กรณีผู้ป่วยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี)

3. บัตรผู้พิการ (กรณีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนเป็นบุคคลผู้พิการ)

4. ใบอนุญาติการทำงาน (กรณีผู้ป่วยเป็นแรงงานต่างด้าว)

5. บัตรรับรองสิทธิ

6. แบบสำหรับส่งตัวผู้ป่วยไปรับการตรวจหรือรักษาต่อ (กรณีผู้ป่วยได้ถูกส่งตัวมารักษาต่อจากสถานพยาบาลอื่น)

 

 

**ผู้ป่วยควรตรวจสอบสิทธิการรักษาของท่านทุกครั้งก่อนเข้ารับการรักษา**

ป้ายโฆษณา

bma-health map

ป้ายโฆษณา

วิธีการเดินทาง

ป้ายโฆษณา

วารสารโรงพยาบาล

ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ข่าวดี!!!!>>>ทุกท่านสามารถติดต่อ-นัดล่วงหน้า และทำบัตรใหม่ ได้ที่ศูนย์ประกันสุขภาพ<<< Mail : klangprofit@gmail.com

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา