คิ้ว ตา ปาก ตก รักษาอย่างไร? ( Bell’s palsy)
ความหมาย
โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) หมายถึง อาการที่เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก ทำให้หลับตาได้ไม่สนิท มุมปากตก และขยับใบหน้าซีกนั้นไม่ได้ โรค Bell's palsy ถูกตั้งชื่อตามนายแพทย์ Charles Bell ศัลยแพทย์ชาวสก็อต ผู้บรรยาย สาเหตุและลักษณะของความผิดปกติที่พบในโรคนี้เป็นคนแรกตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19
Charles Bell ( 1935 - 1995 )
สาเหตุการเกิด
ปัจจุบันยังไม่ทราบว่า โรคอัมพาตเบลล์เกิดจากสาเหตุใด แต่จากการศึกษาต่างๆพบว่า อาจมีสาเหตุได้จาก
1. เส้นประสาทใบหน้าติดเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเริม (Herpes simplex) หรือ จากเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคอีสุกอีใส (Herpes zoster) หรือจากเชื้อไวรัสในตระกูลไซโตเมกาโลไวรัส (Cytomegalovirus) ซึ่งเชื้อทุกชนิด มักก่ออาการเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกัน
ต้านทานต่ำ สาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่แพทย์เชื่อกันมากที่สุดในสาเหตุต่างๆ
2. เกิดจากผลข้างเคียงของโรคบางโรค ที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน หรือ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งพบโรคจากสาเหตุเหล่านี้ได้น้อย
3. เกิดจาร่างกายสร้างสารภูมิต้านทานจากการติดเชื้อไวรัสต่างๆ และภูมิต้านทานนี้ ส่งผลให้เกืดการอักเสบบวมของประสาทใบหน้า
ปัจจัยเสี่ยง
1. คนท้อง
2. เคยมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
3. โรคเบาหวาน
4. ติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจมาก่อน เช่น โรคหวัด หรือ โรคไข้หวัดใหญ่
5. พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนแอ
6. ภาวะเครียด
7. ภาวะร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำลง
ลักษณะอาการที่พบ
1. คิ้งตก
2. ตาตก
3. มุมปากตก
4. รอยย่นจมูกหายไป
5. อาการอื่นๆ เช่น ชา, หูอื้อ, น้ำตาและน้ำลายไหล, ตาแห้ง, การรับรสที่ลิ้นลดลง
การพยากรณ์โรค
- พบว่าผู้ป่วย
ร้อยละ 80-85 จะมีการหายของโรคได้อย่างสมบูรณ์ ระยะเวลา ประมาณ 2-3 สัปดาห์ จนถึง 2 เดือน
- ผู้ป่วยบางราย 10-15% มีอาการบ่งชี้ของการพยากรณ์โรคแย่ลง อันได้แก่
1) รายที่มีอาการอัมพาตกล้ามเนื้อชนิดรุนแรง จนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อใบหน้าได้เลย
2) รายที่มีโรคประจำตัว อันได้แก่ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
การรักษา
1. ควรรีบพบแพทย์ภายใน 1-3 วัน เพราะการรักษาจะได้ผลดีกว่า เมื่อรักษาได้เร็วภายในประมาณ 3 วันหลังเกิดอาการ
2. หลังจากพบแพทย์แล้ว การดูแลตนเองขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์ รวมทั้งการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
3. การรักษาทางกายภาพบำบัด
3.1 การประคบร้อน เพื่องลดความตึงตัวกล้ามเนื้อใบหน้า
3.2 กระตุ้นไฟฟ้า เพื่อฟื้นฟูเส้นประสาทที่ใบหน้า
3.3 การนวดหน้า เพื่อลดความตึงตัวของใบหน้า
3.4 การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า
ฝึกยักคิ้วขึ้นทั้งสองข้าง | ฝึกขมวดคิ้วเข้าหากัน |
ฝึกย่นจมูก | ฝึกหลับตาแน่นๆ(หลับตาปี๋) |
ฝึกทำจมูกบาน | ฝึกยิ้มโดยไม่ยกมุมปาก(แสยะยิ้ม) |
ฝึกยิ้มยกมุมปากขึ้น | ฝึกทำปากจู๋ |