Get Adobe Flash player

ค้นหาข้อมูล

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

จำนวนผู้เข้าชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้105
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้665
mod_vvisit_counterเดือนนี้2759
mod_vvisit_counterทังหมด3969542

กำลังเข้าชม 2
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
**ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลางภูมิใจเสนอเทคโนโลยี ใหม่ล่าสุดในการทำ LASIK เพื่อการมองเห็นที่ดีที่สุด"Femtosecond Laser(FS200)และSCHWIND AMARIS 750S EXCIMER LASER" เครื่องแรกในประเทศไทย ติดตั้งแล้วที่ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลาง สนใจติดต่อศูนย์เลสิค โรงพยาบาลกลาง โทร 0-2220-8000 ต่อ 11641 – 11642

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา

X-Rays.

Cardiac

C.T. 

การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

 

Cardiac CT หรือ Cardiac Computed Tomography คือ การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ปัจจุบันเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของกลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลกลาง เป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง(Multidetector Computed Tomography,MDCT) ซึ่งสามารถสร้างภาพได้ 40 ภาพต่อการหมุนหนึ่งรอบ ทำให้สามารถตรวจหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาได้ โดยเครื่องจะสร้างภาพหัวใจและหลอดเลือดหัวใจที่มีขนาดเล็กได้คมชัด ทำให้เห็นรอยโรคได้

 

การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  • Coronary CTA (Coronary Computed Tomographic Angiography)
  • Coronary Artery Calcification หรือ Calcium Score

  

Coronary CTA (Coronary Computed Tomographic Angiography)

เป็นการตรวจหัวใจเพื่อ

  • ตรวจว่ามีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันหรือไม่ (Coronary Artery Disease)
  • ติดตามผลการรักษาหลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (Post Coronary Bypass Graft)
  • ตรวจความผิดปกติแต่กำเนิดของหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Anomalies)

การตรวจนี้ต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำขณะทำการตรวจ

 

Coronary Artery Calcification หรือ Calcium Score

                เป็นการวัดปริมาณแคลเซี่ยมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจซึ่งแสดงถึงภาวะ Atherosclerosis ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ Calcium score นี้สามารถใช้คาดคะเนการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ จึงเป็นการตรวจที่มีประโยชน์ในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจแต่ไม่เคยมีอาการเจ็บหน้าอก โดย Calcium score ยิ่งสูงโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็สูงด้วย

              การตรวจนี้ไม่ต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าสู่ร่างกาย 

             การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ผู้ป่วยจะได้รับรังสีเอกซ์ แต่ปริมาณน้อย เทียบเท่ากับปริมาณรังสีที่ได้รับตามธรรมชาติเป็นเวลา 3 ปี 

              การตรวจโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน คือ การสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization) ซึ่งต้องใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจโดยตรงเพื่อฉีดสารทึบรังสี การตรวจด้วยวิธีนี้มีความแม่นยำสูงและสามารถทำการรักษาได้ทันที แต่มีค่าใช้จ่ายสูง มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและผู้ป่วยต้องนอนพักในโรงพยาบาล การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการตรวจหลอดเลือดหัวใจ

  

CT

Colonography & Virtual Colonoscopy

 

CT Colonography คืออะไร

                CT Colonography เป็นการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพภายในของลำไส้ใหญ่ ซึ่งตามปกติสามารถมองเห็นได้จาการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

 

ประโยชน์ของ CT Colonography

                เหตุผลสำคัญในการตรวจ CT Colonography คือ การตรวจติ่งเนื้อ (polyp) และรอยโรคอื่นๆในลำไส้ใหญ่

                ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปควรได้รับการตรวจคัดกรองติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ทุก 10 ปี ในขณะที่ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ควรได้รับการตรวจทุก 5 ปี ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่เคยมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นลำไส้ใหญ่ ผุ้ที่ตรวจพบเลือดในอุจจาระ

 

การเตรียมตัวตรวจ CT Colonography

                การเตรียมลำไส้ให้สะอาดปราศจากกากอาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตรวจ CT Colonography เช่นเดียวกับการส่องกล้อง ดังนั้นผู้ป่วยจะได้รับยาเพื่อทำความสะอาดลำไส้ล่วงหน้า 2 วัน และต้องรับประทานที่มีกากน้อยเป็นเวลา 2 วันก่อนถึงวันนัดตรวจ

                ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคตับหรือโรคไต กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการเตรียมลำไส้

                สตรีที่ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ กรุณาแจ้งให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบ

 

 

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์

Multidetector  Computed Tomography

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เป็นการสร้างภาพตัดขวางของร่างกายโดยใช้รังสีเอกซ์ ซึ่งปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการของเครื่องตรวจให้สามารถตรวจผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงตรวจขณะเตียงเลื่อนเข้า-ออกผ่านเครื่อง โดยเครื่องตรวจ MDCT ของโรงพยาบาล สามารถสร้างภาพได้ถึง 40 ภาพต่อหนึ่งรอบการหมุนของหลอดเอกซเรย์ทำให้ลดเวลาการตรวจได้มาก

 

ข้อดีของการตรวจด้วยเครื่อง 40-Sliced MDCT

  • 1. ใช้เวลาในการตรวจน้อยลง
  • 2. สามารถสร้างภาพในแนวต่างๆของร่างกาย
  • 3. ลดความไม่คมชัดของภาพจากการเคลื่อนไหว
  • 4. สามารถตรวจอวัยวะที่ซับซ้อน เช่น ลำไส้ใหญ่ (Virtual Colonography) หลอดเลือดแดงของหัวใจ (Coronary Artery) และหลอดเลือดแดงส่วนต่างๆ เป็นต้น

 

เนื่องจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนมากจะต้องมีการฉีดสารทึบรังสี (Contrast Media) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจ ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง ดังนั้นผู้ป่วยทุกท่านจึงควรทราบถึงสารทึบรังสีทีใช้ในการตรวจ

  

การปฏิบัติตัวขณะตรวจ

1.  การตรวจบริเวณศีรษะ (CT Brain,CT Head & Neck)

ผู้ป่วยต้องนอนบนเตียงนิ่งๆ ห้ามขยับบริเวณศีรษะ เจ้าหน้าที่จะจัดทำผู้ป่วยโดยจะมีสายรัดบริเวณคางและหน้าผากเพื่อให้ศรีษะและลำคออยู่นิ่ง การตรวจใช้เวลาประมาณ 5-15 นาที

2.  การตรวจบริเวณทรวงอก (CT Chest)

                ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดของโรงพยาบาล ในระหว่างการตรวจผู้ป่วยต้องอยู่ในท่านอนหงาย แขนวางไว้เหนือศีรษะอยู่นิ่งตลอดการตรวจ และมีการกลั้นหายใจเป็นระยะตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ การตรวจใช้เวลาประมาณ 15 นาที

                3. การตรวจบริเวณช่องท้อง (CT Abdomen)

                ผู้ป่วยปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับการตรวจ CT ทรวงอก นอกจากนี้ต้องมีการใช้สารทึบรังสีชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดดำ และดื่มน้ำผสมสารทึบรังสี หรืออาจต้องสวนน้ำผสมสารทึบรังสีเข้าทางทวารหนัก การตรวจตรวจใช้เวลาประมาณ 20 นาที - 2 ช.ม. (ขึ้นกับส่วนที่ตรวจ)

                กรณีที่มีการสวนทางทวารหนักผู้ป่วยต้องพยายามกลั้นอุจจาระไว้จนกว่าจะทำการตรวจเสร็จ

                4. การตรวจหลอดเลือดแดง (CT Angiography : CTA)

                ผู้ป่วยต้องอยู่นิ่งตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากการตรวจ CT หลอดเลือดต้องมีการฉีดสารทึบรังสีด้วยอัตราที่เร็ว หากผู้ป่วยขยับอาจทำให้ผลการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนได้

                5. การตรวจลำไส้

                จะทำการตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนในท่าคว่ำและหงาย มีการสวนลมเข้าทางทวารหนักเพื่อให้ลำไส้ใหญ่ขยายตัว และให้ผู้ป่วยกลั้นหายใจตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

                6.การตรวจหลอดเลือดแดงหัวใจ (CT Coronary Artery)           

มีขั้นตอนการตรวจที่ซับซ้อน ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งเครียด ขณะตรวจจะให้กลั้นหายใจประมาณ 18-20 วินาที

 

*เจ้าหน้าที่จะทำการซักซ้อมผู้ป่วยเรื่องการกลั้นหายใจก่อนทำการตรวจ

*พยาบาลจะวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตให้พร้อมก่อนเสมอ

หมายเหตุ : การตรวจ CT ทุกส่วนต้องมีการฉีดสารทึบรังสีร่วมด้วยเพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง ยกเว้นการตรวจ CT สมอง (CT Brain) และลำไส้ใหญ่ ซึ่งขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

  

การปฏิบัติตัวหลังการตรวจ

- ให้ผู้ป่วยสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง หากมีสิ่งผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่

- การทึบรังสีที่ฉีดเข้าไปจะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ดังนั้นผู้ป่วยควรดื่มน้ำสะอาดมากๆ หลังจากตรวจเสร็จ 

 

การขอรับผลการตรวจ

นำใบนัดรับผลหรือบัตรโรงพยาบาลมารับผลการตรวจที่ห้องเอกซเรย์ชั้น 1 อาคารอนุสรณ์ 100 ปี ก่อนที่จะพบแพทย์

 

 

 

 

bma-health map

ป้ายโฆษณา

วารสารโรงพยาบาล

ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ข่าวดี!!!!>>>ทุกท่านสามารถติดต่อ-นัดล่วงหน้า และทำบัตรใหม่ ได้ที่ศูนย์ประกันสุขภาพ<<< Mail : klangprofit@gmail.com

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา