Get Adobe Flash player

ค้นหาข้อมูล

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

จำนวนผู้เข้าชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้126
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้964
mod_vvisit_counterเดือนนี้2808
mod_vvisit_counterทังหมด3973637

กำลังเข้าชม 2
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา

บัตรรายการหนังสือ

 

1. บัตรรายการหนังสือ (Catalog Card) หมายถึง บัตรสีขาวขนาด 3x5 นิ้ว ใช้บันทึกรายการต่าง ๆ ที่สำคัญของหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือและวัสดุอื่น ๆ ที่ต้องการได้โดยสะดวกและรวดเร็ว ด้านล่างของบัตรเจาะรูกลม สำหรับร้อยบัตรเข้าลิ้นชักตู้บัตร

ประโยชน์ของบัตรรายการ

1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาวัสดุที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

2. บอกตำแหน่งที่อยู่ของหนังสือแต่ละเล่ม

3. เป็นตัวแทนหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด

4. ช่วยให้ทราบรายละเอียดต่าง ๆ ของหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุดก่อนเห็นตัวเล่มจริง เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้าฯ และ ชื่อชุดหนังสือ เป็นต้น

5. ช่วยให้ผู้ใช้ได้ทราบว่า

- ห้องสมุดมีหนังสือที่แต่ง แปล และรวบรวมโดยบุคคลนั้น ๆ หรือไม่

- ห้องสมุดมีหนังสือชื่อเรื่องนั้น ๆ หรือไม่

- ห้องสมุดมีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ หรือไม่

6. ใช้เป็นเครื่องมือการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ ในการคัดเลือก จัดหาหนังสือเข้าห้องสมุด

งานบริการ ตอบคำถาม และงานสำรวจหนังสือ

ประเภทของบัตรรายการ

บัตรรายการหนังสือ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ 3 ประเภทคือ

1. บัตรหลัก ( Main Entry Card) คือบัตรใบแรกที่จัดขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักในการจัดทำบัตรอื่น ๆ เพราะ

ฉะนั้นบัตรนี้ จะเป็นบัตรที่มีรายละเอียดต่าง ๆ ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด โดยทั่วไปบัตรหลักคือ บัตรผู้แต่ง เพราะใช้

ชื่อผู้แต่งลงเป็นรายการหลัก แต่ในกรณีที่ไม่อาจใช้ชื่อผู้แต่งลงเป็นรายการหลักได้ ก็จะใช้ชื่อเรื่องลงไว้แทน ในกรณีเช่นนี้ถือว่าบัตรชื่อเรื่องคือบัตรหลัก

2. บัตรเพิ่ม (Added Entry Card) คือบัตรอื่น ๆ ที่จัดทำเพิ่มขึ้น ซึ่งมีอยู่หลายชนิด เช่น บัตรผู้แต่งร่วม บัตรผู้แปล บัตรผู้วาดภาพ บัตรหัวเรื่อง บัตรชื่อเรื่อง และบัตรชื่อชุด

3. บัตรแจ้งหมู่ ( Shelflist Card) เป็นบัตรที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของบรรณารักษ์ในการสำรวจหนังสือ ตลอดจนเป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์และจัดทำรายการบรรณานุกรม บัตรแจ้งหมู่จะระบุเลขทะเบียน และจำนวนฉบับ (Copy) ของหนังสือ

รายละเอียดของหนังสือที่บรรจุในบัตร มีดังนี้

1. เลขเรียกหนังสือ (Call Number) คือสัญลักษณ์ของหนังสือที่ห้องสมุดกำหนดขึ้น ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่ม เพื่อบอกที่อยู่ของหนังสือ ซึ่งห้องสมุดจะพิมพ์ติดไว้ที่สันหนังสือของแต่ละเล่ม ประกอบ

ด้วย

1.1. ประเภทของหนังสือ

1.2. เลขหมู่หนังสือ (Classification Number) คือสัญลักษณ์ซึ่งใช้แทนเนื้อหา หรือลักษณะ

การ ประพันธ์ของหนังสือ

1.3. อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง สำหรับหนังสือภาษาไทย และอักษรตัวแรกของชื่อสกุล

สำหรับ หนังสือภาษาต่างประเทศ

1.4. เลขผู้แต่ง (Author Number) คือ เครื่องหมายประจำหนังสือ

1.5. อักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง

1.6. ปีที่จัดพิมพ์หนังสือ ถ้าไม่มีปีที่จัดพิมพ์ ห้องสมุดกำหนดใช้คำว่า ม.ป.ป. แทน (ไม่

ปรากฏปีที่พิมพ์)

1.7. ในกรณีที่หนังสือนั้น ๆ มีจำนวนหลายเล่ม อาจปรากฏ จำนวน ฉ. 1 ฉ.2 หรือ C.1 ,C. 2.

ถ้าหนังสือเล่มนั้น ๆ มีหลายเล่มจบก็ปรากฏ ล.1 ล.2 หรือ V.1 V.2

2. รายการหลัก (Main Entry) คือรายการสำหรับค้น ซึ่งกำหนดไว้แล้ว สำหรับหนังสือแต่ละประเภท ได้แก่ ชื่อผู้แต่งที่เป็นบุคคล ชื่อผู้แต่งที่เป็นนิติบุคคล ชื่อเรื่องหรือชื่อเรื่องแบบฉบับ

3. รายการทางบรรณานุกรม (Description) คือรายการเชิงพรรนา ซึ่งบอกรายละเอียดข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือแต่ละเล่ม ได้แก่ ส่วนชื่อเรื่อง และการแจ้งความรับผิดชอบ ครั้งที่พิมพ์ การพิมพ์และการเผยแพร่ ปีที่พิมพ์ ลักษณะรูปร่าง ชื่อชุด และหมายเหตุ

4. แนวสืบค้น (Tracing ) คือรายการที่แจ้งให้ทราบว่า ห้องสมุดจะต้องทำบัตรเพิ่มกี่ใบ และทำบัตรประเภทใดบ้างให้กับหนังสือเล่มนั้น ๆ ประกอบด้วย หัวเรื่อง รายการเพิ่มชื่อบุคคล และนิติบุคคล รายการชื่อเรื่อง และรายการชื่อชุด

 

ตู้บัตรรายการ ( Card Catalog)

บัตรรายการชนิดต่าง ๆ ของห้องสมุดเมื่อพิมพ์เรียบร้อยแล้ว จะจัดเรียงไว้ในลิ้นชักตู้บัตรรายการ ซึ่งมีขนาด 30 ลิ้นชัก สิ่งที่ผู้ใช้ห้องสมุดควรทราบเกี่ยวกับตู้บัตรรายการ มีดังนี้

1. ป้ายหน้าลิ้นชักบัตรรายการ มีสิ่งที่แจ้งให้ทราบ ดังนี้

1.1. เลขที่ลิ้นชัก เป็นตัวเลขที่แสดงถึงลำดับที่ของลิ้นชัก ตั้งแต่ลิ้นชักที่ 1 จนถึงลิ้นชักสุดท้าย ของตู้บัตร เพื่อความสะดวก รวดเร็ว เมื่อผู้ใช้นำลิ้นชักที่ดึงออกมาใช้แล้ว กลับเข้าที่เดิมได้ถูกต้อง ไม่สลับที่กัน

1.2. ตัวอักษรหน้าลิ้นชัก บอกลำดับตัวอักษรจาก ก-ฮ สำหรับหนังสือภาษาไทย และ A-Z

สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ

1.3. ประเภทของบัตรรายการ บอกให้ผู้ใช้ทราบว่าในลิ้นชักนั้น เป็นบัตรรายการชนิดใด

 

2. บัตรแบ่งตอน ( Guide Card ) เป็นบัตรแข็งสีต่าง จากบัตรรายการชนิดต่าง ๆ มีส่วนหนึ่งสูงกว่าบัตรธรรมดา สำหรับใช้เขียนตัวอักษร เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าต่อจากบัตรแบ่งตอนนั้นไป เป็นบัตรรายการที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรใด เพื่อความสะดวกในการค้นหาเรื่องที่ต้องการได้รวดเร็วและง่ายขึ้น

 

การเรียงบัตรรายการ

บัตรรายการทุกชนิดของห้องสมุด จะจัดเรียงไว้ในตู้บัตรรายการ โดยแยกบัตรภาษาไทย และภาษาอังกฤษออกจากกัน ห้องสมุดมีวิธีจัดเรียงบัตรรายการ ดังนี้ คือ

1. เรียงบัตรรายการโดยแยกประเภทสิ่งพิมพ์ เช่น บัตรรายการตำราภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

และ บัตรรายการห้องสมุดเคลื่อนที่

2. เรียงบัตรรายการโดยแยกตามประเภทของบัตรรายการ ได้แก่ บัตรผู้แต่ง บัตรหัวเรื่อง

และบัตรแจ้งหมู่

3. บัตรรายการ ประเภท บัตรผู้แต่ง บัตรหัวเรื่อง บัตรชื่อเรื่อง จัดเรียงตามแบบพจนานุกรม

โดยเรียงตามลำดับอักษรของข้อความในบรรทัดแรกของบัตรตั้งแต่ ก-ฮ และ A-Z

4. บัตรรายการประเภทบัตรแจ้งหมู่หรือบัตรทะเบียน ห้องสมุดจัดเรียงบัตรตามลำดับของ

เลขหมู่ หนังสือ จากเลขน้อยไปหามาก ถ้าเลขซ้ำกันก็จัดเรียงตามลำดับอักษรของชื่อผู้

แต่ง

หลักการเรียงบัตรรายการตามแบบพจนานุกรม

บัตรรายการภาษาไทยทุกชนิด (ยกเว้นบัตรแจ้งหมู่) ใช้หลักการเรียงลำดับตามแบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีหลักการเรียง ดังนี้

1. เรียงลำดับตามตัวอักษรของข้อความบรรทัดแรกในบัตรตั้งแต่ ก-ฮ โดยไม่คำนึงถึงการอ่าน เช่นคำว่า ทรุดโทรม เรียงไว้ที่ ไม่ใช่ คำว่าหมากรุก เรียงไว้ที่ ไม่ใช่

2. ตัว ฤ ฤา เรียงไว้หลังตัว เช่น

โรคของผู้สูงอายุ

ฤกษ์

ฤาษี

3. ตัว ฦ ฦา เรียงไว้หลังตัว เช่น

เล่าสู่กันฟัง

ฦาชา

4. คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกันให้เรียงคำที่มีตัวสะกดไว้ก่อนคำที่มีรูปสระประกอบ เช่น

จงอาง

จักจั่น

จักร

5. คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน และมีรูปสระกำกับ ให้เรียงตามลำดับก่อนหลังของรูปสระตามแบบพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ดังนี้

ส. อาสนจินดา

ส่งศรี เสริมสุข

สัญญา พูนวิวัฒน์

สายใจ เทพประทาน

6. เรียงพยางค์หรือคำควบกล้ำที่มีรูปสระประกอบไว้ก่อนคำหรือที่มีรูปสระประกอบเสมอ เช่น

ปลาโรมา

ปะการัง

7. อักษรย่อเรียงไว้หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตัวเดียวกันที่มีตัวสะกด เช่น

ช. ไชยกุล

ช. บุนนาค

ช่อลัดดา

ชัยพฤกษ์

8. คำย่อเรียงลำดับไว้เหมือนคำที่สะกดเต็ม เช่น

มหาดไทย

ม.ส.ธ.

มหาศาล

9. ถ้าข้อความมีลำดับที่ปรากฎอยู่ด้วยจะเรียงลำดับใหม่ไว้ก่อน เช่น

ตำราอายุรศาสตร์ 4

ตำราอายุรศาสตร์ 3

ตำราอายุรศาสตร์ 2

ตำราอายุรศาสตร์ 1

10. ข้อความที่มีตัวเลขแต่ไม่ใช่การแสดงลำดับที่ หรือคำย่อ ให้สะกดเป็นคำอ่านตามความนิยม แล้วเรียงตามลำดับอักษรของคำอ่าน เช่น

20 คำถาม ปัญหาสุขภาพ ( อ่านว่า ยี่สิบคำถาม......)

35 ปีโรงพยาบาลศูนย์ฯ (อ่านว่า สามสิบห้าปี......)

108 คำถามเรื่องมะเร็ง (อ่านว่า หนึ่งร้อยแปดคำถาม.....)

วิธีใช้บัตรรายการหนังสือ

1. ค้นหาที่บัตรผู้แต่ง หากทราบชื่อผู้แต่งหนังสือ

2. ค้นหาที่บัตรชื่อเรื่อง หากทราบชื่อเรื่องของหนังสือ

3. ค้นหาที่บัตรหัวเรื่อง หากไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และชื่อเรื่อง

4. เมื่อพบบัตรที่ต้องการ ให้จดรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการค้นหนังสือเล่มที่

ต้องการ ที่อยู่บนชั้น โดยจดเลขเรียกหนังสือ ชื่อผู้แต่ง และชื่อเรื่อง

5. กรณีหนังสือเล่มที่ต้องการ ไม่มีที่ชั้นหนังสือ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อตรวจสอบว่า

หนังสือเล่มนั้นถูกยืมไปหรือไม่ และกำหนดส่งคืนเมื่อใด


bma-health map

ป้ายโฆษณา

วิธีการเดินทาง

ป้ายโฆษณา

วารสารโรงพยาบาล

ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ข่าวดี!!!!>>>ทุกท่านสามารถติดต่อ-นัดล่วงหน้า และทำบัตรใหม่ ได้ที่ศูนย์ประกันสุขภาพ<<< Mail : klangprofit@gmail.com

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา