Get Adobe Flash player

ค้นหาข้อมูล

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

จำนวนผู้เข้าชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้151
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้451
mod_vvisit_counterเดือนนี้451
mod_vvisit_counterทังหมด3971280

กำลังเข้าชม 2
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา

ความหมายและความสำคัญของห้องสมุด

ความหมายและความสำคัญของห้องสมุด

การจัดตั้งห้องสมุด

เมื่อครั้งแรกที่โรงพยาบาลกลาง เป็นอาคารเรือนไม้ หนังสือตำราวิชาการต่างๆ ส่วนมากเป็นภาษาต่างประเทศ และวารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ กระจัดกระจายอยู่ตามแผนกต่างๆและใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า

ห้องสมุดที่แท้จริงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2481 ในสมัย นายแพทย์หลวงนิตย์เวชชวิศิษฎ์ ขณะนั้น มีการสร้างตึกอำนวยการ 3 ชั้น อยู่ติดกับ ถนนหลวง ห้องสมุดตั้งอยู่ที่ชั้น 2 ของตึก มีขนาด 5x6 ตารางเมตร อยู่ติดกับห้องผู้อำนวยการโรงพยาบาลกลาง มีประตูเปิด-ปิด เข้าออกระหว่างห้องผู้อำนวยการ และอีกด้านหนึ่งของห้องสมุดติดกับห้องชันสูตรโรคกลาง มีโต๊ะยาวขนาดใหญ่ และเก้าอี้สำหรับนั่งอ่านหนังสือประมาณ 10 ตัว นอกจากเป็นห้องสมุดแล้วยังใช้เป็นห้องประชุม ห้องสอนนักศึกษาแพทย์ ตลอดจนเป็นห้องรับรองของผู้อำนวยการฯ เจ้าหน้าที่คนแรกที่ดูแลงานห้องสมุด เป็นพยาบาลที่อายุค่อนข้างมาก ทำหน้าที่ ยืม-คืน หนังสือ เมื่อมีหนังสือมากขึ้นและเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ ตลอดจนนักเทคนิคทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ทั่วๆ ไป เพิ่มขึ้น ห้องสมุดจึงเป็นที่พึ่งและศูนย์รวมวิชาการต่าง ๆ

ประมาณปี พ.ศ. 2500 นายแพทย์บุลศักดิ์ วัฒนผาสุก มีโอกาสไปดูงานในประเทศสหรัฐอเมริกา และเห็นการดำเนินงานและการจัดการห้องสมุด จึงมีความประสงค์ที่จะปรับปรุงห้องสมุดของโรงพยาบาลกลางให้มีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า จึงมีคำสั่งให้ นายแพทย์คัมภีร์ มัลลิกะมาส และนายแพทย์นิยม ต่อวงศ์ ปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่ ในการปรับปรุงห้องสมุด โดยทำหน้าที่
(1) วางแผนการดำเนินงานห้องสมุด
(2) กำหนดข้อปฏิบัติในการใช้ห้องสมุด
(3) ลงทะเบียนหนังสือ วารสาร
(4) ทำบัตรดัชนีชื่อเรื่อง

ต่อมาในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2513 ห้องสมุดโรงพยาบาลกลาง ได้มีบรรณารักษ์คนแรกที่จบปริญญาตรี ด้านบรรณารักษศาสตร์ มาพัฒนาและปรับปรุงห้องสมุด คือ นางสาววาณี ทองเศวต จึงมอบหมายงานห้องสมุดให้กับบรรณารักษ์ดำเนินการต่อไป
ใน ปี พ.ศ. 2528 ห้องสมุด ได้ย้ายไปอยู่ที่ชั้น 9 อาคาร 10 ชั้น ตึกเอื้อประชา มีเนื้อที่ทั้งหมด 294 ตารางเมตร โดยมีเนื้อที่ในการปฏิบัติงาน ดังนี้
ห้องปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จำนวน 36 ตารางเมตร
ห้องวารสารและหนังสือพิมพ์ จำนวน 72 ตารางเมตร
ห้องตำรา จำนวน 72 ตารางเมตร
ห้องวารสารรวมเล่ม จำนวน 42 ตารางเมตร
ห้องโสตทัศนศึกษา จำนวน 42 ตารางเมตร

เมื่อ ปี พ.ศ. 2528 นายแพทย์ประเสริฐ นุตกุล ได้บริจาคเงินให้โรงพยาบาลกลางจำนวน 500,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์ให้นำดอกเบี้ยเงินฝากมาใช้ในกิจการของห้องสมุด ห้องสมุดโรงพยาลบาลกลางจึงมีชื่อเรียกว่า ห้องสมุด ประเสริฐ นุตกุล นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมาเมื่อวันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2547 ห้องสมุดได้ย้ายที่ทำการไปที่ตึกอนุสรณ์ 100 ปี ชั้น 12 มีเนื้อที่ทั้งหมด 336 ตารางเมตร และมีห้องปฏิบัติงานดังนี้
ห้องทำงานบรรณารักษ์ (หัวหน้าห้องสมุด) จำนวน 1 ห้อง
ห้องทำงานเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 1 ห้อง
ห้องวารสารและหนังสือพิมพ์ ห้องโสตฯ จำนวน 1 ห้อง
ห้องโถงใหญ่สำหรับบริการตำรา และวารสารรวมเล่ม จำนวน 1 ห้อง

 

-----------------------------------------------------------

 

bma-health map

ป้ายโฆษณา

วิธีการเดินทาง

ป้ายโฆษณา

วารสารโรงพยาบาล

ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ข่าวดี!!!!>>>ทุกท่านสามารถติดต่อ-นัดล่วงหน้า และทำบัตรใหม่ ได้ที่ศูนย์ประกันสุขภาพ<<< Mail : klangprofit@gmail.com

Designed by eTDS TechnoSys
Click here to donate
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา